เราเคยคิดบ้างไหมว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีต้นทุนเท่าไหร่ แล้วส่วนมากมาจากพลังงานใดเป็นหลัก แล้วที่เราพลังงานในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีต้นทุนในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่ แน่นอนว่ามีคนน้อยมากที่รู้เรื่องขอพลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรามาใช้กันในปัจจุบัน
ซึ่งโดยรวมแล้วต้นทุนในการผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้เราสามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างโทรทัศน์ ตู้เย็น หรืออะไรก็ตามมีสัดส่วนของต้นทุนเพียงแค่ 3.79บาทเท่านั้น ซึ่งมาจากต้นทุน 3 ส่วน คือต้นทุนการผลิตไฟฟ้า รวมค่า Ft ราว 2.82 บาทต่อหน่วย ต้นทุนระบบส่งและการสูญเสียในสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ราว 45 สตางค์ต่อหน่วย และต้นทุนระบบจำหน่ายราว 52 สตางค์ต่อหน่วยสำหรับ ที่มาของต้นทุนการผลิตไฟฟ้านั้น เฉลี่ยมาจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและซื้อไฟฟ้าที่อยู่ในระบบทั้งหมด ตามปริมาณการผลิตจริง โดยที่ต้นทุนการผลิตจากพลังงานทดแทน มีราคาสูงสุด เฉลี่ย 6.37 บาทต่อหน่วย แต่เนื่องจากมีการผลิตในสัดส่วนร้อยละ 6 จึงยังไม่มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้ามากนัก
ต้นทุนการผลิตที่แพงรองลงมา คือ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก แบบใช้ไอน้ำและความร้อนร่วมกัน ที่มีต้นทุนการผลิต 3.24 บาทต่อหน่วย และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาดใหญ่ ต้นทุนการผลิต 2.83 บาทต่อหน่วย ซึ่งระบบผลิตไฟฟ้า มีการใช้ก๊าซธรรมชาติรวมกันราวร้อยละ 67 จึงมีผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด
การผลิตจากถ่านหินนำเข้า ลิกไนต์หงสาประเทศลาว และลิกไนต์แม่เมาะ ต้นทุนต่ำที่สุด คือ 2.02 บาทต่อหน่วย 1.63 บาทต่อหน่วย และ 1.25 บาทต่อหน่วย ตามลำดับ มีการใช้ผลิตไฟฟ้ารวมกันราวร้อยละ 20
ส่วนการผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั้งในประเทศ และนอกประเทศ ที่มีต้นทุนราว 1.60 บาทต่อหน่วย ใช้ผลิตไฟฟ้ารวมกัน ราวร้อยละ 6
โรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ จึงสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมได้เป็นอย่างดี
ฉะนั้นการทีคนเรานั้นมีค่าไฟฟ้าที่สูงก็เนื่องจากการที่พวกเขาเหล่านั้นใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมากเลยที่และมีความถี่เป็นประจำมากกว่าคนที่ใช้ไฟฟ้าน้อย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น