งานสแตนเลส เป็นงานที่อยู่คุ่กับเรามาโดยตลอด และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ซึ่งเราเองได้ตั้คำถามมาหรือเปล่าว่างานสแตนเลสนั้นเป็นงานประเภทใดและเขาเอาวัสดุอะไรมาใช้งาน คงจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไปอย่างเรา บทความนี้เราจะมาดูกันว่าชนิดของสแตนเลสที่จนแปรรูปมาออกมาเป็นงานสแตนเลสนั้นมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
สแตนเลส 304
– ใช้งานทั่วไปไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อนสูง สามารถขึ้นรูปเย็น
และเชื่อมได้ดี
สแตนเลส 304L
– ใช้งานเชื่อมที่ดีกว่า ไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับงานแท้งค์ต่างๆ
สแตนเลส 316
– ใช้กับงานทนกรด ทนเคมี หรือเป็นเกรดที่ปฏิกิริยากับกรดน้อย
สแตนเลส 316L
– ใช้กับงานทนกรดที่เข้มข้นมากกว่า ทนเคมีมากกว่า หรือเป็นเกรดที่ปฏิกิริยากับกรดน้อยมาก (มีความทนกรดมากกว่า)
สแตนเลส 420 (มาตรฐานอเมริกา) 420J2 (มาตรฐานญี่ปุ่น)
– เป็นสแตนเลสเกรดชุบแข็ง สามารถนำไปชุบแข็งได้
(ชุบแล้วความแข็งขึ้นประมาณ 58 HRC)
สแตนเลส 431
– เป็นสแตนเลสที่เคลือบแข็งที่ผิวมา สามารถนำไปชุบแข็งได้เช่นกัน
(ชุบแล้วความแข็งขึ้นประมาณ 50-55 HRC) แต่น้อยกว่าเกรด 420
สแตนเลส 301
-ใช้เกี่ยวกับงานสปริง คอนแทค สายพานลำเลียง
สแตนเลส 310 /310S
-ใช้กับงานทนความร้อนสุง 1,150 องศา งานเตาอบ เตาหลอม ฉนวนกั้นความร้อน
สแตนเลส 309/309S
-ใช้เกี่ยวกับงานทนความร้อนเช่นกัน 900 องศา (น้อยกว่า 310/310S )
สแตนเลส 409/409S
-ใช้กับงานอุปกรณ์ท่อไอเสีย ชิ้นส่วนผนังท่อเป่าลมร้อนต่าง ๆ
Duplex Plate 2205
-ใช้งานขุดเจาะแก๊สและน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี
อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อ
คุณสมบัติสำคัญของสเตนเลส
คงทนต่อการกัดกล่อน หรือเป็นสนิม เนื่องจากเนื้อสเตนเลสจะสร้างฟิล์มบางๆ เรียกว่า PASSIVE FILM มาเคลือบผิวหน้าตลอดเวลาเมื่อผิวนั้นทำปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจน (H2O) ที่มีอยู่ในบรรยากาศทั่วไป
ทำความสะอาดและดูแลรักษาง่าย เนื่องจากสเตนเลสไม่เกิดสนิมจึงสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
แข็งแกร่ง เนื้อสเตนเลสมีความแข็งแกร่ง และมีจุดหลอมเหลวสูงกว่าเหล็กมาก ส่งผลให้ชิ้นงานที่ทำจากสเตนเลสมีความแข็งแรงทนทานมาก แต่การทำชิ้นงานจากสเตนเลสก็ทำได้ยากเช่นกัน อุปกรณ์สำหรับงานแปรรูป ตัด เจาะ หรือเชื่อม ต้องเป็นเฉพาะที่ใช้กับงานสเตนเลส
จุดด้อยของสเตนเลส
มีความเปราะกว่าเหล็ก จึงไม่เหมาะสำหรับทำวัสดุที่ต้องดัดงอมากๆ และบ่อยๆ เช่น ลวดสลิงสำหรับงานรอก
เคลือบสีไม่ติด เนื่องจากสเตนเลสมีการสร้างฟิล์มด้วยตัวเองทำให้สีที่เคลือบไม่สามารถเกาะติดบนผิวสเตนเลสได้
เป็นสนิมได้ หากใช้งานในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีอ๊อกซิเจนปกคลุมผิวสเตนเลส
ผุ กร่อนได้ หากผิวสเตนเลสสัมผัสกับกรดเข้มข้น หรือคลอไรด์ (Cl) เพราะสเตนเลสไม่สามารถคงทนต่อกรดเข้มข้นหรือคลอไรด์ จึงจำเป็นต้องเพิ่มนิเกิ้ล (Ni) เข้าไปในส่วนผสมให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความคงทนต่อการกัดกร่อน
สเตนเลสแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก
MARTENSITIC เป็นกลุ่มที่มีส่วนผสมของโครเมี่ยม (Cr) ระหว่าง 12 – 18% โดยมีเกรด 403, 410, 414,416, 420, 431, 416, 440A/B/C, 501 และ 502 คุณสมบัติหลักคือ สามารถชุบแข็งได้ ซึ่งส่งผลให้เนื้อสเตนเลสมีความแข็งแกร่งมากและทนต่อการเสียดสีได้ดี จึงเหมาะกับงานทำชิ้นส่วนเครื่องมือ เครื่องจักร แต่แม่เหล็กสามารถดูดติดได้
FERRITIC เป็นกลุ่มที่มีโครเมี่ยม (Cr) อยู่ระหว่าง 12 – 18% และมีคาร์บอน (C) น้อยกว่า 0.2% สเตนเลสในกลุ่มนี้มีราคาถูกที่สุด ไม่สามารถรีดให้แข็งขึ้นได้ แม่เหล็กดูดติด และไม่สามารถชุบแข็งได้ มีโอกาสเป็นสนิมได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น หากใช้งานในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จึงนิยมนำมาใช้งาน บางชนิดที่ไม่สัมผัสกับกรดโดยตรง เช่น ฝอยขัดหม้อ ลวดรัดสายไฟฟ้า โครงโต๊ะวางเตาแก๊ส เกรดในกลุ่มนี้มี 405, 430, 442 และ 446
AUSTENITIC เป็นกลุ่มที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยมีโครเมียม (Cr) 10.5 -24% เมื่อเพิ่มนิเกิ้ล (Ni) จะทำให้สเตนเลสมีคุณสมบัติทนต่อสนิมและการกัดกร่อนได้ดี สามารถเพิ่มความแข็งด้วยการรีดเย็นได้ แม่เหล็กดูดไม่ติด แต่ไม่สามารถชุบแข็งได้ เกรดในกลุ่มนี้มี 201, 202, 301, 302, 303, 304, 305, 308, 309, 310, 314, 316, 347 และ 348
DUPLEX เป็นกลุ่มที่ผสมกันระหว่า AUSTENITIC และ FERRITIC ซึ่งนำข้อดีของทั้งสองกลุ่มมารวมกันเพื่อวัตถุประสงค์ของการใช้งานเฉพาะเจาะจงบางประเภท ซึ่งไม่ค่อยมีการผลิตมากนัก
ทั้งหมดที่เราได้กล่าวมานี้ชนิดของงานสแตนเลสทั้งหมดที่เราได้อย่างไร
ดุงานสเเตนเลสเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2TrcUed
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น